วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปกป้องสุขภาพจากสารปนเปื้อนอาหาร

           อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในปัจจุบันนี้ นับว่ามีอัตราเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บ หรือสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง และทางอ้อม ซึ่งแต่ละชนิดมีความร้ายแรงที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงขั้นสะสม จนก่อเกิดเป็นเนื้อร้าย ทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา เราจึงขอยกตัวอย่างสารปนเปื้อนที่เราทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงได้ หากรู้จักวิธีการเลือกซื้อ ดังนี้
  • การเลือกเนื้อสัตว์ หรือเนื้อหมู ที่นับได้ว่าเป็นรายการอาหารโปรดที่ทำได้หลากหลายเมณู ผู้ซื้อต้องระวังสารเร่งเนื้อแดง(ซาลบลูทามอล, เคลนบิวเทอรอล)ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดได้ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตที่ปลอดภัยได้เข้ามาทำให้การบริโภคเนื้อหมูห่างไกลจากสารเร่งเนื้อแดงนี้มา อีกทั้งกระบวนการผลิตยังใช้ ฟู้ดเกรด สารหล่อลื้นที่เป็นมิตรกับเนื้อหมู ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่างสุขภาพร่างกาย
  • การเลือกผัก ผลไม้ ต้องระวังเรื่องสารเคมีตกค้าง เพราะเป็นสารที่ช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตที่สูงขึ้น โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ที่บางคนไม่มีความรู้เรื่องการเลือกซื้อ อีกทั้งยังไม่มีกระบวนการล้างที่ถูกต้อง จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมลงได้
  • การเลือกซื้ออาหารที่มีเครื่องหมายการันตีได้ว่า อุตสาหกรรมการผลิตใช้สารหล่อลื่น ฟู้ดเกรด เพื่อหลีกเหลี่ยงการก่อเกิดสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อระบบการทำงานภายในร่างกายของมุษย์

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ถุงมือยาง|สารที่สัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน

           ความเสี่ยงที่จะสัมผัสสารต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณมือ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดยตรงหรือได้รับโดยทางอ้อมก็ตาม สารจำพวกรด-ด่าง ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ทำความสะอาด ที่แม่บ้านต้องสัมผัสอยู่เป็นประจำทุกวันควรที่สวมถุงมือยางเพื่อป้องกันสาร คุณทราบหรือไม่ว่าสารที่มีสมบัติเป็นกรด-เบสในชีวิตประจำวัน ที่คุณมีโอกาสสัมผัสได้ตลอดเวลา ซึ่งในบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ เช่น
  • กรด tartaric อยู่ใน มะขามป้อม ฝรั่ง 
  • กรดแอซิติก (acetic acid) ใช้ในการผลิตน้ำส้มสายชู 
  • กรดซิตริก (citric acid) อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว 
  • กรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเช่นกัน 
  • กรดอะมิโน (amino acid) เป็นกรดที่ใช้สร้างโปรตีน อยู่ในเนื้อสัตว์และผลไม้ 
  • กรดซัลฟิวริก มักนำมาทำเป็นปุ๋ยเคมี 
  • กรด boric ยาฆ่าเชื้อโรค, น้ำยาล้างตา 
  • กรดไฮโดรคลอริก น้ำยาล้างสุขภัณฑ์
  • กรดออกซาลิก กำจัดรอยเปื้อนสนิม 
  • กรดคาร์บอนิก อยู่ในน้ำอัดลม
          และสารอื่นๆ อีกมาก ที่อยู่ใกล้ตัวเราจนทำให้หลายคนมองข้ามไป ทางที่ดีควรสวมใส่ถุงมือยางไว้ทุกเมื่อ หากมีกิจวัตรที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารเคมี หรือกรดต่างๆ ไว้จะเป็นการดีที่สุด

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

Food Grade Lubricant | กฎหมายสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

         ในกระบวนการผลิตอาหารของภาคอุตสาหกรรมนั้น เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยทต่อผู้บริโภค จึงมีการกำหนดกฎหมายสำหรับอุตสาหกรรมอาหารขึ้น โดยองค์กรทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกต่างมีหน้าที่พิจารณารับรองน้ำมันหล่อลื่นเกรดอาหาร หรือ Food Grade Lubricant ในหมวดอาหารที่ใช้ในโรงงานผลิตอาหาร ดังนี้
  •  องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA : United States Food and Drug Administration) องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกามีหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับการรับรองด้านอาหารและยาที่จะวางจำหน่ายในตลาดของสหรัฐอเมริกา น้ำมันหล่อลื่นที่ผ่านการรับรองจาก FDA ถือเป็นสารผสมอาหารชนิดไม่สัมผัสโดยตรง
  • กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA : United States Department of Agriculture) ได้ให้คำจำกัดความของน้ำมันหล่อลื่นกลุ่ม H1 และ H2 ไว้ว่า H1 คือน้ำมันหล่อลื่นที่อาจจะมีโอกาสสัมผัสกับอาหาร และ H2 คือน้ำมันหล่อลื่นประเภทอื่นที่ห้ามไม่ให้สัมผัสกับอาหาร
  • NSF International เป็นบริการเกี่ยวกับสาธารณสุขและความปลอดภัย ที่มีขั้นตอนการขึ้นทะเบียนแบบเดียวกับระเบียบเดิมของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการใช้สารตามมาตรฐาน H1 และ H2 
  • Kosher มาตรฐานอาหารสำหรับกลุ่มผู้นับถือศาสนายูดาย ซึ่งมีกฎบัญญัติหลายประการเกี่ยวกับการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยอาหารที่เหมาะสม เป็นไปตามข้อกำหนด และอนุญาตให้รับประทานได้เรียกว่าโคเซอร์ สิ่งที่เป็นเครื่องวัดว่าอาหารนั้นเป็นโคเซอร์หรือไม่ ได้แก่ แหล่งวัตถุดิบ ภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
  • Halal มาตรฐานการผลิตอาหารของกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีกฎบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิตอัน ซึ่งอาหารที่ผ่านมาตรฐานฮาลาลต้องได้รับการตรวจสอบและอนุญาตจากสมาพันธุ์มุสลิมซึ่งมีศูนย์อยู่ในแต่ละประเทศ

เคล็ดลับการทำป๊อปคอร์น

วิธีการทำอาหารว่างไว้รับประทานเล่นเองขณะดูหนังฟังเพลง อยู่ที่บ้านกับครอบครัว, เพื่อน และคนรัก อย่างเช่นการทำป๊อปคอร์น ซึ่งเป็นวิธีการทำที่รวดเร็ว เพียงไม่กี่นาทีก็พร้อมเสิร์ฟเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ผู้ทำต้องเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆให้พร้อม สำหรับการทำป๊อปคอร์น ได้แก่
  • เม็ดขาวโพด
  • เครื่องทำป๊อปคอร์นสำเร็จรูป อาจใช้หม้อหุงข้าวหรือเตา หมอหรือกระทะที่มีฝาปิด รูระบายความร้อนออก 
  • เครื่องปรุง ได้แก่ เกลือ เนย ชีส คอราเมลหรือน้ำตาล, น้ำมันพืช เป็นต้น
  • ภาชนะสำหรับใส่ อาจเป็นถุงกระดาษ ถัง กระติก ถ้วย 
ขั้นตอนการทำได้แก่
  • อุ่นเตาหรือเครื่องให้มีเกิดความร้อน
  • ใส่น้ำมันหรือเนยลงไป
  • เม็ดข้าวโพดลงไป ประมาณ 3-4 ถ้วยตวง หรือตามความต้องการ
  • หลังจากเม็ดข้าวโพดสุก(อาจสังเกตุได้จากการแตกของเม็ดที่เป็นสีขาว ระวังอย่างไหม)ให้เติมเกลือหรือรสหวานตามความต้องการลงไป
  • เทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ พร้อมเสิรฟได้ทันที 
การเก็บรักษาป๊อปคอร์นหากรับประทานไม่หมด ใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิดไม่ให้อากาศเข้าไปได้ เพื่อรักษาความกรอบ